พระเครื่องเนื้อว่าน
นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่านต่างๆ ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้นเมื่อมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่องจึงมีการนำว่านต่างๆ มาเป็นส่วนผสม โดยมีการนำดินมาผสมน้ำว่านและเนื้อว่านบ้าง เพราะถ้ามีเนื้อว่านมากจะทำให้ผุกร่อนง่ายและไม่ทนทาน พระเนื้อว่านแบ่งเป็น 2 ชุด คือ
1. พระเนื้อว่านยุคเก่า เช่น
-
- พระเนื้อว่านจำปาสัก แขวงเมืองจำปาสัก ประเทศลาว
- พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดสุโขทัย พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดช้างล้อม กรุวัดเจดีย์สูง
- พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดกำแพงเพชร พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดพระบรมธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระสี่อิริยาบถ
2. พระชุดเนื้อว่านที่พระเกจิอาจารย์เป็นผู้สร้าง เช่น
-
- พระเนื้อว่านหลวงปูทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่สร้างโดย พระครูวิสัยโสภณหรือท่านอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ทำการปลุกเสกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗
- พระเนื้อว่าน หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้เช่าพระเครื่อง
เหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม พิมพ์โมมีไส้
900,000 บาท
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก
3,500,000 บาท
พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี2497 พิมพ์ใหญ่
500,000 บาท
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
10,000,000 บาท